ทำความรู้จักกับ UiPath หนึ่งใน Robotic Process Automation (RPA)

pasupol bunsaen
5 min readJun 5, 2019

--

https://www.tangentia.com/wp-content/themes/twentysixteen/images/automation/uipath-banner.png

Robotic Process Automation (RPA) คืออะไร

RPA เป็นระบบการทำงานแบบ อัตโนมัติ โดยการใช้โรบอท ในที่นี้ หมายถึง (Software Robot) ซึ่งช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพ ในการทำงาน ให้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยประหยัด ทรัพยากร ทั้งคน และเวลา ได้อีกด้วย

RPA ไม่ได้เหมาะกับทุกงาน!!

ครับ ที่ใครๆชอบบอกว่า ต่อไปโรบอทจะเข้ามาทำงาน แทนคน ให้เตรียมตัว ตกงานได้เลย นั่นไม่ถูกเสมอไป เพราะ RPA ไม่ได้เหมาะกับทุกงาน RPA เหมาะกับงาน ที่มี
ปริมาณมากๆ แต่มีการทำงานในรูปแบบเดิมซ้ำๆ เช่น งานกรอก เอกสาร, เก็บข้อมูล, ส่ง Email , ปริ้นงาน, แปลภาษา เป็นต้น

UiPath คืออะไร

UiPath คือ หนึ่งใน RPA Platform ที่ใช้สำหรับสร้างโรบอท

ขั้นตอนการติดตั้ง UiPath

  1. ไปยังหน้าเว็บไซต์ UiPath จากนั้นเข้าไปยังหน้าดาวน์โหลด (ตอนนี้รองรับเฉพาะ Windows Os )
  2. UiPath จะมีทั้งหมด 2 เวอร์ชั่น คือ Community (free) และ Enterprise (เสียตังค์)

ขั้นตอนการใช้งาน

หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว จะได้โปรแกรมมา 2 ตัวคือ UiPath Studio (สำหรับสร้างโรบอท) และ UiPath Robot (สำหรับรันโรบอท ที่เคยสร้างไว้) ในบทความนี้ จะสอนการใช้งาน UiPath Studio นะครับ

ทดลองสร้างโรบอทอย่างง่าย

เรามาลองสร้างโรบอทเพื่อ ดึงข้อมูลจากเว็บไซต์ Amezon แล้วนำมาทำเป็นรายงานในรูปแบบของ Excel (CSV) กันครับ

เริ่มต้น หลังจากเปิดโปรแกรม UiPath Studio ขึ้นมา UI ของโปรแกรมจะเป็นประมาณนี้

ให้สังเกตุตรง New Project จะมีเมนูย่อย อยู่ 2 อันคือ Process (สร้างโรบอท) และ Library (สร้าง Lib หรือ Plugin ไว้ใช้งาน สำหรับครั้งต่อๆไปด้วย)

ในที่นี้ ให้เลือกไปที่เมนู Process ครับ

จากนั้น ให้ตั้งชื่อโรบอท และ รายละเอียด เสร็จแล้ว ให้กดปุ่ม create

หลังจาก กด create เสร็จ เราก็พร้อมที่จะเริ่มต้นเขียนโรบอทกันแล้ว

ต่อไปผมจะอธิบาย เครื่องมือการทำงานโดยคร่าวๆ ก่อนนะครับ

เรียงจากซ้ายไปขวานะครับ

  • สร้างโปรเจคใหม่
  • บันทึก
  • บันทึกเป็น Template เก็บไว้ใช้ในครั้งต่อไป
  • ปุ่มสำหรับรันโรบอท
  • สำหรับ จัดการ หรือ ดาวน์โหลด Packages ต่างๆเพิ่มเติม
  • สำหรับ บันทึกเหตุการณ์ แล้วนำมาทำเป็น Flowchart การทำงาน
  • สำหรับหาตำแหน่งของวัตถุ
  • สำหรับเก็บข้อมูล ต่างๆ ใช้ได้กับทั้ง Browser และ Application บน Windows
  • เครื่องมือต่างๆที่ใช้สำหรับสร้างโรบอท

โอเครครับ เมนูคร่าวๆก็จะประมาณนี้ จากนั้นเรามาลอง สร้างโรบอทจริงๆกันเลยครับ

ขั้นตอนแรก ผมจะทำการนำเอา Flowchart ออกมา และจะ วางทุกอย่างไว้ในนี้นะครับ โดยการทำงานจะเริ่มจากจุด Start

ขั้นแรกเลย เราจะสั่งให้เปิด Browser ไปยังเว็บไซต์ที่เราต้องการ

สามารถเลือก Browser ได้ตามที่ต้องการ (ซึ่งต้องทำการติดตั้ง Extenstion ของ UiPath ด้วย)

จากนั้นกรอก Url ของเว็บไซต์ (อยู่ในเครื่องหมาย “”)

เสร็จแล้วลองกดปุ่ม Run ดู จะเห็นว่าโรบอท ได้ทำการเปิด Browser (Chrome) ขึ้นมา แล้วเข้าไปยังเว็บไซต์ ที่เราตั้งไว้ได้

ต่อไป ผมต้องการที่จะพิมพ์ค้นหา สินค้า ในช่อง ค้นหา นี้

สิ่งแรกที่ต้องทำคือ หาสิ่งอ้างอิง หรือตำแหน่งของวัตถุนั้นๆ โดย UiPath ได้ทำสิ่งนั้นไว้ให้เราแล้ว ชื่อว่า UI Explorer Selectors

จากนั้นให้กดไปที่เมนู Indicate Element

แล้วชี้ไปที่ ช่องค้นหา บนเว็บไซต์ จะได้ข้อมูลออกมาตามนี้

ขั้นตอนต่อไป นำเครื่องมือที่ใช้สำหรับ พิมพ์ข้อความออกมาต่อใน Flowchart

แล้วกดไปที่ Target -> Selector แล้วใส่ Selector ที่ได้มาเข้าไป (ทุกช่องที่รับข้อมูลเป็น String จะต้องอยู่ในเครื่องหมาย “”)

จากนั้นใส่คำที่ต้องการค้นหาลงไป ใน Field ที่ชื่อ Text

ลองรันใหม่อีกครั้ง

ขั้นตอนต่อไป สั่งให้กด ที่ปุ่มค้นหา
ก็เหมือนเดิมครับ หาตำแหน่งวัตถุมาก่อน จากนั้น นำไปใส่ใน Target -> Selector

จากนั้นลองรันใหม่อีกครั้ง

ขั้นตอนต่อไป คือ เก็บข้อมูลในเว็บไซต์ ในที่นี้ ผมต้องการจะเก็บ ชื่อ, ลิงค์ และ ราคา สินค้า

เครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล มีชื่อว่า Data Scraping

หลังจากกดที่เครื่องมือ จะมี popup เด้งขึ้นมาแบบนี้ จากนั้น ให้กด Next

จากนั้น กดไปที่ชื่อสินค้า อันไหนก็ได้ แล้วกด Next แล้วก็ทำแบบเดิมอีกรอบ แต่ให้เลือกสินค้าอันอื่น จากนั้นกด Next

เมื่อทำทั้งสองครั้งเสร็จ ให้ตั้งชื่อ Column ตามที่ต้องการ จากนั้นกด Next อีกครั้ง

ผลลัพธ์ที่ได้

ขั้นตอนต่อไปเป็นการดึงเอา ราคาสินค้า โดยให้กดไปที่เมนู Extract Correlated Data

โดยผมจะเลือกเอาเฉพาะ ราคาเริ่มต้น

จากนั้นกด Next แล้วกด Finish

จะมี popup ขึ้นมาถามอีกว่า จะทำการเก็บข้อมูลในหลายๆหน้าไหม ในกรณีที่เป็น Pagination ถ้าต้องการเก็บ ก็กด Yes (ในที่นี้ผมกด No) คือเอาเฉพาะหน้าแรก เท่านั้น

จากนั้นให้กลับไปที่หน้า Flowchart ของเรา

แล้ว Double Click เข้าไปที่ Data Scraping ที่เราพึ่งทำเสร็จไป

จะเห็น Block Diagram ต่างๆ ตามนี้

ในขั้นตอนสุดท้าย เราต้องการจะเก็บ ข้อมูลที่ได้มาลงใน Excel (CSV)

โดยให้นำเครื่องมือ (Write CSV) มาต่อถัดจาก Extract Structured Data ตามนี้

สิ่งที่ต้องตั้งค่า มีอยู่ 2 อย่างคือ path ที่ต้องการจะเก็บ และ ข้อมูลที่จะนำมาเก็บ

โดยผมตั้งแค่ชื่อไฟล์ ซึ่งตัวไฟล์จะถูกเก็บ ไว้ที่โฟเดอร์ของโปรเจค

ส่วนข้อมูลที่จะนำมาเก็บ ให้ไปเช็คที่ Block ของ Extract Structured Data -> Output -> DataTatable ให้ Double Click เข้าไป จะเห็นตัวแปร ที่จะใช้ Reference มายัง Block นี้ ซึ่งเรา สามารถตั้งเองได้ จากนั้น ให้นำมาใส่ในช่อง Datatable ของ Block (Write CSV) ตามนี้

เสร็จแล้วลองรันโรบอท อีกครั้งแล้วดูผลลัพธ์ โดยไปยัง Tap Project แล้ว Click ขวา เพื่อเข้าไปยังโฟลเดอร์ของโปรเจค

ถ้ารันโรบอทสำเร็จ จะได้ไฟล์ report.csv เพิ่มขึ้นมา

จากนั้นลองเปิดไฟล์ เพื่อดูผลลัพธ์ครับ

ตัวอย่าง บางส่วนของข้อมูล

ก็เป็นอันจบแล้วนะครับ สำหรับขั้นตอนการสร้างโรบอท อย่างง่าย สำหรับเก็บข้อมูล ที่เหลือ ผู้อ่านก็อาจจะนำไปเขียนเพิ่มเติม หลังจากได้ข้อมูลมาแล้ว อาจจะนำไป วิเคราะห์ หรือ ต่อยอดเพื่อทำประโยชน์ ในด้านต่างๆได้ สำหรับบทความนี้ ขอจบไว้เพียงเท่านี้ครับ

ขอบคุณครับ ~

--

--

pasupol bunsaen
pasupol bunsaen

Written by pasupol bunsaen

javascript ❤️firebase ❤️react ❤️ angular ❤️ vue